ตกขาวสีน้ำตาล เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่
ตกขาวสีน้ำตาล หรือตกขาวมีเลือดปน อาจเป็นสัญญาณที่น่าตกใจและมักเป็นปัญหาสุขภาพที่ต้องได้รับการดูแลในทันที โดยทั่วไปแล้วภาวะนี้มักเป็นผลมาจากร่างกายขับเอาเลือดเก่าออกมา ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย รวมถึงการสิ้นสุดของรอบประจำเดือนด้วย อย่างไรก็ตามการมีตกขาวยังอาจส่งสัญญาณถึงสภาวะที่ร้ายแรงที่จำเป็นต้องพบแพทย์ในทันทีได้ด้วย หากเพิกเฉยต่อสัญญาณดังกล่าวอาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจสาเหตุที่เป็นไปได้ และไปพบแพทย์เสียแต่เนิ่น ๆ เพื่อรับการวินิจฉัยอาการและรักษาอย่างทันท่วงที บทความนี้ GENITIQUE CLINIC คลินิกเฉพาะทางความงามจุดซ่อนเร้น จะมาไขคำตอบให้ได้ทราบกันว่า ตกขาวเป็นสีน้ำตาลเกิดจากอะไร ตกขาวสีน้ำตาลท้องไหม เป็นกี่วันถึงจะหาย มาติดตามกันได้เลยค่ะ
ตกขาวเป็นสีน้ำตาลเป็นเพราะอะไร
ตกขาวสีน้ำตาล อาจเกิดจากปัจจัยหลายประการ ตั้งแต่กระบวนการทางสรีรวิทยาตามปกติไปจนถึงสภาวะสุขภาพที่ร้ายแรง ได้แก่
- วัยทอง : เมื่อระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายลดลง ผนังช่องคลอดจะเริ่มบางลง ทำให้มีเลือดออกปนมากับตกขาวได้ง่ายขึ้น โดยเลือดที่ออกจะมีสีแก่หรือสีเข้มขึ้นจนกลายเป็นสีน้ำตาล
- เลือดออกจากการฝังตัวของไข่ : ในช่วงต้นของการตั้งครรภ์ ผู้หญิงบางคนอาจมีจุดหรือมีของเหลวไหลออกมาเล็กน้อย ในระหว่างที่ไข่ปฏิสนธิเกาะติดกับเยื่อบุมดลูก ซึ่งอาจทำให้ตกขาวปรากฏเป็นสีน้ำตาลได้เช่นกัน
- การตกไข่ : ผู้หญิงบางคนอาจสังเกตเห็นจุดหรือมีของเหลวสีน้ำตาลเล็กน้อย ในช่วงเวลาตกไข่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
- การติดเชื้อ : ภาวะแบคทีเรียในช่องคลอด การติดเชื้อยีสต์ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STIs) เช่น หนองในเทียม หรือโรคหนองใน อาจทำให้เกิดตกขาวผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นสีน้ำตาลหากผสมกับเลือดเก่า
- ปัญหาเกี่ยวกับปากมดลูก : สภาวะต่าง ๆ เช่น ติ่งเนื้อปากมดลูกหรือมะเร็งปากมดลูก อาจทำให้มีเลือดออกผิดปกติ และเมื่อมาผสมกับตกขาวจึงทำให้ตกขาวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลได้
- เนื้องอกในมดลูกหรือติ่งเนื้อ : การเจริญเติบโตของก้อนเนื้อ แม้ไม่เป็นอันตรายแต่หากเกิดในมดลูก อาจทำให้เลือดออกผิดปกติ รวมถึงตกขาวสีเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
- ยา : ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิดหรือการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนสีของตกขาวได้ เนื่องมาจากผู้ใช้มีเลือดออกในช่วงเดือนแรก ๆ ที่ใช้ยา ซึ่งจะหายไปเองภายใน 3 เดือน อย่างไรก็ตามหากสีของตกขาวยังคงเป็นสีน้ำตาลนานกว่านั้น ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและปรับเปลี่ยนตัวยาตามดุลยพินิจของแพทย์
- การแท้งบุตร : ผู้หญิงที่มีอายุครรภ์ 20 สัปดาห์แรก หากมีตกขาวสีน้ำตาลอาจเป็นสัญญาณของการแท้งได้
- ภาวะรกเกาะต่ำ : ภาวะรกเกาะต่ำ หรือปิดขวางมดลูก ซึ่งพบได้ในหญิงตั้งครรภ์ช่วง 20 สัปดาห์แรก อาจส่งผลให้มีเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ หรือขณะทำคลอด หรือหลังคลอดแล้ว เมื่อมาผสมกับตกขาวทำให้ตกขาวเป็นสีน้ำตาลหรือน้ำตาลเข้ม
- ตั้งครรภ์นอกมดลูก : ท้องนอกมดลูกเป็นสาเหตุของการมีตกขาวสีน้ำตาล ซึ่งเกิดจากผนังที่บอบบางทำให้มีเลือดออกได้ง่ายกว่าปกติ
ภาวะตกขาวสีน้ำตาล คันน้องสาวร่วมด้วย
ตกขาวเป็นของเหลวที่ถูกขับออกจากช่องคลอด เป็นภาวะปกติของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ซึ่งปกติแล้วจะไม่มีกลิ่นและไม่มีอาการคัน อย่างไรก็ตามหากมีอาการคันบริเวณอวัยวะเพศที่มาพร้อมกับตกขาว เป็นสัญญาณที่บอกให้รู้ว่ามีบางอย่างผิดปกติเกิดขึ้นดังนี้
คันอวัยวะเพศจากการติดเชื้อ
- การติดเชื้อราในช่องคลอด
- การติดเชื้อแบคทีเรีย
- การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หูด หรือเริมที่อวัยวะเพศ หนองในแท้ (Gonorrhea) หนองในเทียม (Chlamydia) เป็นต้น
คันอวัยวะเพศจากโรค
- โรคมะเร็งปากช่องคลอด (Vulvar cancer)
- โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
- โรคผิวหนังอักเสบ (Eczema)
อาการคันที่ไม่ติดเชื้อ
- การโกนขนน้องสาว ถอน แว็กซ์ขนบริเวณอวัยวะเพศ
- ความเครียดที่มากจนเกินไป เครียดเรื้อรัง
- ใส่เสื้อผ้าหรือชุดชั้นในที่รัดเกินไป
- การระคายเคืองจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ดูแลจุดซ่อนเร้น
เฉลย! ตกขาวสีน้ำตาล ท้องไหม
ตกขาวมีสีน้ำตาลอาจเป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์ หรือที่เรียกว่า “เลือดล้างหน้าเด็ก” อาจมีตกขาวสีน้ำตาลในช่วง 7-14 วันแรก หลังไข่ที่ผสมกับน้ำอสุจิไปฝังตัวอยู่ที่มดลูก อันเป็นสาเหตุทำให้หลอดเลือดแตกออกและไหลปนมากับตกขาวได้
ตกขาวสีน้ำตาลเป็นกี่วันถึงจะหาย
ไม่สามารถบอกได้อย่างแน่ชัดว่า ตกขาวสีน้ำตาลจะหายได้เองหรือกี่วันหาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะสุขภาพของผู้หญิงในแต่ละคน หากมีปัญหาสุขภาพเป็นไปได้มากว่าจะกินระยะเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ ในกรณีดังกล่าวจำเป็นต้องไปพบสูตินรีแพทย์ฯ เพื่อตรวจวินิจฉัย และหาวิธีรักษาที่เหมาะสมต่อไป
ตกขาวสีน้ำตาล ป้องกันได้อย่างไร
รักษาสุขอนามัยช่องคลอดที่ดี
- ทำความสะอาดด้วยการล้างบริเวณอวัยวะเพศทุกวันด้วยน้ำอุ่นและสบู่อ่อน ๆ ที่ไม่มีกลิ่น หลีกเลี่ยงการสวนล้างเพราะอาจทำลายสมดุลตามธรรมชาติของแบคทีเรียในช่องคลอดได้
- เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ ในช่วงมีประจำเดือน เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
จัดการรอบประจำเดือน
- ติดตามรอบเดือนของคุณเป็นประจำ ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยให้สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าว่าจะเกิดการตกขาวเมื่อใด
- การใช้ยาคุมกำเนิดอย่างเหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเลือดออกผิดปกติ
ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์
- รับประทานอาหารที่สมดุล สามารถช่วยควบคุมรอบประจำเดือนของคุณได้ รวมทั้งกินอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก วิตามิน และแร่ธาตุ
- รักษาความชุ่มชื้นด้วยการดื่มน้ำปริมาณมากพอ เพื่อช่วยล้างสารพิษออกจากร่างกาย
- หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เพราะการออกกำลังกายเป็นประจำสามารถช่วยรักษาสมดุลของฮอร์โมนได้
จัดการความเครียด
- ความเครียดในระดับสูง อาจส่งผลต่อรอบประจำเดือนได้ ฝึกเทคนิคการลดความเครียดด้วยการทำสมาธิ ทำกิจกรรมที่ชอบ หางานอดิเรคทำ หรือการฝึกหายใจเข้าลึก ๆ ทั้งหมดล้วนช่วยบรรเทาความเครียดได้
ดูแลรักษาทางการแพทย์
- การตรวจสุขภาพเป็นประจำ เช่น การตรวจทางนรีเวช จะช่วยให้พบสภาวะที่ซ่อนอยู่ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ
- หากพบอาการติดเชื้อในช่องคลอด (คันช่องคลอด แสบร้อน กลิ่นผิดปกติ) ให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาในทันที
- หากสงสัยว่าฮอร์โมนไม่สมดุล ให้ปรึกษากับแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งสามารถแนะนำยาหรือการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต เพื่อช่วยควบคุมฮอร์โมนของคุณได้
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับตกขาวสีน้ำตาล
ตกขาวสีน้ำตาลคืออะไร?
ตกขาวสีน้ำตาลเป็นภาวะที่สารคัดหลั่งจากช่องคลอดมีสีออกน้ำตาล ซึ่งอาจเกิดจากการปนเปื้อนของเลือดเก่าในมดลูกหรือภาวะฮอร์โมนที่ไม่สมดุล
ตกขาวสีน้ำตาลเป็นอันตรายหรือไม่?
ในบางกรณีตกขาวสีน้ำตาลอาจเป็นเรื่องปกติ เช่น ช่วงก่อนหรือหลังประจำเดือน อย่างไรก็ตาม หากมีอาการร่วม เช่น ปวดท้องน้อยหรือมีกลิ่นผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์
ตกขาวสีน้ำตาลเกิดจากสาเหตุอะไร?
ตกขาวสีน้ำตาลอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น เลือดตกค้างในมดลูก การตั้งครรภ์ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ การติดเชื้อ หรือการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
ควรทำอย่างไรเมื่อพบตกขาวสีน้ำตาล?
ควรสังเกตอาการร่วม เช่น ปวดท้อง มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ หรือประจำเดือนมาช้า หากมีอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย
ตกขาวสีน้ำตาลในหญิงตั้งครรภ์ต้องกังวลหรือไม่?
ตกขาวสีน้ำตาลในหญิงตั้งครรภ์อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน แต่ถ้ามีอาการเลือดออกมากหรือปวดท้อง ควรรีบพบแพทย์ทันที
สรุป
การทำความเข้าใจสาเหตุที่แท้จริงของอาการตกขาวสีน้ำตาล เป็นสิ่งสำคัญในการพิจารณาการรักษาสุขภาพการเจริญพันธุ์โดยรวมที่เหมาะสม หากตกขาวมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปวด คัน ช่องคลอดมีกลิ่นเหม็นรุนแรง หรือเป็นต่อเนื่องยาวนานผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการประเมินเพิ่มเติม เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนหรืออาการของโรคบางอย่างที่รุนแรงได้ อย่าปล่อยให้ปัญหาสุขภาพทางเพศมาบ่อนทำลายคุณภาพชีวิต Genitique Clinic ยินดีเป็นพื้นที่ปลอดภัย เพราะที่นี่คือคลินิกความงามจุดซ่อนเร้นโดยเฉพาะ ดำเนินงานโดยสูตินรีแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ความงามทางนรีเวชและสุขภาพทางเพศ สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้โดยตรงที่หมายเลขโทรศัพท์ 062-924-4966 หรือ Line: @Genitiqueclinic เรายินดีให้บริการอย่างใกล้ชิดทุกเคสค่ะ