ตกขาวสีเขียวอันตรายไหม วิธีดูแลตนเองให้ปลอดภัยทำอย่างไร
ตกขาวสีเขียว เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นภายในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง โดยเฉพาะหากมาพร้อมกลิ่นเหม็นหรืออาการผิดปกติ เช่น คัน แสบร้อน หรือปวดขณะปัสสาวะ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือความไม่สมดุลของแบคทีเรียในช่องคลอดอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อหรือภาวะอื่น ๆ ที่ต้องได้รับการรักษา การทำความเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาว่าเหตุใดตกขาวถึงเปลี่ยนเป็นสีเขียว และเมื่อใดที่ต้องพบแพทย์ถือเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาสุขภาพ หากคุณสงสัยว่า ตกขาวเกิดจากอะไร และควรดูแลตนเองอย่างไร เราจะพาคุณมาสำรวจสาเหตุและวิธีป้องกันอย่างละเอียดในบทความนี้
ตกขาวเกิดจากอะไร
ตกขาว เป็นกระบวนการธรรมชาติที่ร่างกายขับสารคัดหลั่งออกมาเพื่อรักษาความสะอาดและความชุ่มชื้นในช่องคลอด ช่วยให้ช่องคลอดสะอาด มีความชุ่มชื้น และปราศจากการติดเชื้อ เพื่อรักษาสมดุลโดยแต่ละช่วงเวลาตกขาวจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนของร่างกายแต่หาก ตกขาวสีเขียว หรือมีลักษณะตกขาวผิดปกติ เช่น มีกลิ่นเหม็น หรือเป็นฟอง อาจบ่งบอกถึงการติดเชื้อ เช่น แบคทีเรียวาจิโนซิส หรือ โรคพยาธิในช่องคลอด ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ตกขาวสีเขียวเป็นสัญญาณของโรคอะไร
ตกขาวสีเขียวไม่ใช่ภาวะปกติที่เกิดขึ้น และมักบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพที่ต้องได้รับการรักษา สำหรับตกขาวสีเขียวมักเกิดจากการอักเสบในระบบสืบพันธุ์หรือทางเดินปัสสาวะ รวมถึงการติดเชื้อภายในช่องคลอด โดยตกขาวสีเขียวมักมาพร้อมกับกลิ่นเหม็นพร้อมกับอาการอื่น ๆ เช่น คัน ระคายเคืองช่องคลอด แสบช่องคลอด แสบขณะปัสสาวะ เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ รวมถึงอาการปวดอุ้งเชิงกราน สำหรับตกขาวสีเขียวเป็นสัญญาณของโรคดังต่อไปนี้
● โรคพยาธิในช่องคลอด
โรคพยาธิในช่องคลอด หรือ โรคติดเชื้อทริโคโมนาส (Trichomonas vaginalis) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ที่เกิดจากปรสิต ติดต่อทางเพศสัมพันธ์เท่านั้น ผู้ป่วยมักมีตกขาวมากกว่าปกติ เป็นฟอง กลิ่นเหม็นคาวปลา
มีเลือดออกจากในช่องคลอด แสบ คันบริเวณอวัยวะเพศ รวมถึงปวดปัสสาวะบ่อย
● หนองในแท้-หนองในเทียม
เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บหรือแสบร้อนขณะปัสสาวะและมีเพศสัมพันธ์ หรือ
มีเลือดออกทางช่องคลอด หนองในหากไม่รีบรักษาอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงอย่างเช่น โรคอักเสบ
ในอุ้งเชิงกราน ซึ่งอาจทำให้ระบบสืบพันธุ์เสียหายถาวร ภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก รวมถึงไม่สามารถตั้งครรภ์
ได้อีกต่อไป
● แบคทีเรียวาจิโนซิส
เกิดจากความไม่สมดุลของแบคทีเรียภายในช่องคลอด โดยแบคทีเรียชนิดก่อโรคเพิ่มจำนวนมากขึ้น ในขณะที่แบคทีเรียชนิดดีที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย แลคโตบาซิลไล (Latobacilli) มีจำนวนน้อยลง จึงทำให้ช่องคลอดอักเสบ เป็นการติดเชื้อช่องคลอดที่พบบ่อยที่สุดในผู้หญิงอายุระหว่าง 15-44 ปี และเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น HIV, เริม, หนองใน และโรคอักเสบในอุ้งเชิงกราน
ตกขาวสีเขียวแบบไหนควรพบแพทย์
หากมีตกขาวเปลี่ยนเป็นสีเขียวร่วมกับอาการดังต่อไปนี้ ขอแนะนำให้ควรรีบปรึกษาแพทย์ในทันที
- กลิ่นที่รุนแรงหรือเหม็น : ตกขาวสีเขียวพร้อมกลิ่นเหม็น มักบ่งชี้ถึงการติดเชื้อ เช่น แบคทีเรียในช่องคลอดหรือ โรคติดเชื้อทริโคโมนาส
- อาการคันหรือแสบร้อน : ความรู้สึกไม่สบายในหรือรอบ ๆ ช่องคลอด อาจบ่งบอกถึงการระคายเคืองหรือ
การติดเชื้อ อาการปวดขณะปัสสาวะหรือขณะมีเพศสัมพันธ์ อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ภาวะบางอย่าง เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STI) - อาการปวดในอุ้งเชิงกรานหรือช่องท้อง : อาการปวดอย่างต่อเนื่องอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อที่ร้ายแรงกว่าซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาทันที
- อาการบวมหรือมีรอยแดงรอบ ๆ ช่องคลอด : อาจบ่งบอกถึงอาการอักเสบหรือระคายเคืองที่เกี่ยวข้องกับ
การตกขาว - การเปลี่ยนแปลงในปริมาณหรือความสม่ำเสมอของการมีตกขาว : การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันและผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าตกขาวมีลักษณะเป็นฟอง หรือเหนียวข้น เป็นสัญญาณที่น่ากังวลและควรรีบรักษาในทันที
- อาการไข้หรือหนาวสั่น : อาการเหล่านี้อาจบ่งบอกว่าการติดเชื้อได้แพร่กระจายและต้องได้รับการดูแลทางการแพทย์โดยด่วน
- การตั้งครรภ์ : หากคุณตั้งครรภ์และสังเกตเห็นตกขาวสีเขียว ควรไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากการติดเชื้อ
ในระหว่างตั้งครรภ์อาจส่งผลกระทบต่อทั้งแม่และทารกในครรภ์ได้
วิธีดูแลตนเองหลังมีตกขาวสีเขียว
- รีบพบแพทย์เสียแต่เนิ่น ๆ เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงและรักษาได้อย่างทันท่วงที
- รับประทานยาปฏิชีวนะหรือยาต้านเชื้อราตามแพทย์สั่งให้ครบ
- ปฏิบัติตามสุขอนามัยที่ดี ล้างช่องคลอดให้สะอาด หลีกเลี่ยงการสวนล้างเพราะจะไปทำลายจุลินทรีย์ชนิดดีในช่องคลอด
- ไม่สวมกางเกงในที่รัดแน่นเพื่อการระบายอากาศที่ดี
- หมั่นเปลี่ยนผ้าอนามัยเป็นประจำเพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
- หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด เช่น อาหารหมักดอง อาหารรสจัด อาหารที่มีน้ำตาลสูง
- งดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะหายเป็นปกติ
- ดื่มน้ำให้มากเพื่อรักษาสมดุลของร่างกาย และรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยโปรไบโอติก เพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องคลอด
- เข้ารับการตรวจสุขภาพช่องคลอดเป็นประจำ
ตกขาวสีเขียวหายเองได้ไหม
โดยปกติแล้วภาวะมีตกขาวสีเขียวสามารถหายเองได้ แต่จะกินระยะเวลานาน ซึ่งไม่แนะนำปล่อยให้หายเองเนื่องจากเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่รุนแรงตามมา นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงต่อการกลับมาเป็นซ้ำ นอกจากนี้หากคุณตั้งครรภ์ ตกขาวสีเขียวอาจเป็นอันตรายต่อการทารกในครรภ์ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
ตกขาวสีเขียวรักษาอย่างไร
อาการตกขาวเป็นสีเขียวมักเกิดจากพยาธิและเชื้อแบคทีเรียซึ่งต้องได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ ซึ่งคนไข้จะต้องรับประทานยาให้ครบปริมาณและระยะเวลาที่แพทย์สั่ง ไม่ควรหยุดยาเอง สำหรับยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษามีดังนี้
- อะซิโธรนมัยซิน (Azithromycin) มีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรีย มักใช้รักษาโรคติดเชื้อและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองใน
- คลินดามัยซิน (Clindamycin) ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งการเจริญเติบโตแบคทีเรียภายในช่องคลอด ขนาดรับประทาน 30 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 5-7 วัน
- ทินิดาโซล (Tinidazole) ใช้รักษาโรคติดเชื้อจากพยาธิหรือแบคทีเรีย ขนาดรับประทาน 400 – 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 5-7 วัน
- เมโทรนิดาโซล (Metronidazole) ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย ขนาดรับประทาน 400 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้งพร้อมอาหาร ติดต่อกัน 5-7 วัน
วิธีป้องกันตนเองจากภาวะตกขาวสีเขียว
ตกขาวสีเขียวมักเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ โดยเฉพาะแบคทีเรียในช่องคลอด (BV) หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STI) เช่น ทริโคโมนาส การป้องกันตัวเองต้องอาศัยสุขอนามัยที่ดี การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย และการดูแลทางการแพทย์อย่างทันท่วงที ต่อไปนี้คือขั้นตอนที่ช่วยป้องกันตกขาวสีเขียวในเบื้องต้น
1. ปฏิบัติสุขอนามัยที่ดี
รักษาความสะอาดบริเวณช่องคลอด : ใช้สบู่อ่อน ๆ และน้ำอุ่นในการทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศภายนอก หลีกเลี่ยงการสวนล้างช่องคลอด เพราะอาจทำให้ค่า pH ในช่องคลอดเสียสมดุล
สวมชุดชั้นในที่ระบายอากาศได้ดี : เลือกชุดชั้นในที่ทำจากผ้าฝ้ายเพื่อลดการสะสมของความชื้นซึ่งอาจกระตุ้นให้แบคทีเรียเติบโตได้ หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้ารัดรูปที่กักเก็บความร้อนและความชื้น
เช็ดน้องสาวอย่างถูกวิธี : เช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอเพื่อป้องกันแบคทีเรียแพร่กระจายจากทวารหนักไปยังช่องคลอด
2. มีกิจกรรมทางเพศที่ปลอดภัย
ใช้ถุงยางอนามัย : ถุงยางอนามัยช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่อาจทำให้เกิดตกขาวสีเขียว เช่น เชื้อทริโคโมนาส
เลี่ยงมีคู่นอนหลายคน : การลดจำนวนคู่นอนอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้
สื่อสารกับคู่รัก : ตรวจสอบให้แน่ใจว่าทั้งสองฝ่ายได้รับการตรวจและรับการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หากจำเป็น
3. รักษาสภาพแวดล้อมในช่องคลอดให้มีสุขภาพดี
หลีกเลี่ยงสารระคายเคือง : หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ สเปรย์ หรือผ้าอนามัยแบบสอดที่มีกลิ่นหอม เพราะอาจทำให้เนื้อเยื่อช่องคลอดเกิดการระคายเคืองและทำลายจุลินทรีย์ตามธรรมชาติได้
รักษาสมดุลการรับประทานอาหาร : โปรไบโอติกที่พบในโยเกิร์ตและอาหารเสริมสามารถช่วยเสริมสร้างจุลินทรีย์ในช่องคลอดให้มีสุขภาพดี
รักษาระดับน้ำในร่างกายให้เหมาะสม : การดื่มน้ำให้เพียงพอช่วยรักษาสุขภาพโดยรวม รวมถึงสุขภาพช่องคลอดด้วย
4. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการตกขาวปกติ : ตกขาวปกติมักจะมีลักษณะใส สีขาว หรือสีเหลืองอ่อน และไม่มีกลิ่น หากคุณสังเกตเห็นตกขาวเปลี่ยนเป็นสีเขียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาพร้อมกับกลิ่นเหม็น อาการคัน หรือรู้สึกไม่สบายตัว ให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที
ตกขาวสีเขียวห้ามกินอะไร
เนื่องจากภาวะตกขาวสีเขียวเกิดจากการติดเชื้อซึ่งจะต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารดังต่อไปนี้
- ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม
- ชีส
- ปลาดิบ ซูชิ
- อาหารหมักดอง
เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะคงได้ทราบคำตอบกันไปแล้วเกี่ยวกับภาวะมีตกขาวสีเขียวมีสาเหตุมาจากอะไร การรู้จักวิธีป้องกันตนเอง รวมถึงวิธีสังเกตอาการว่าแบบไหนควรต้องพบแพทย์ จะช่วยให้คุณสามารถดูแลตนเองและคู่ของคุณได้อย่างปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง และหากท่านใดมีปัญหาต้องสงสัยเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศไม่รู้จะไปปรึกษาใคร หรือต้องการปรับปรุงเรื่องความสวยงามให้กับน้องสาวและน้องชาย GENITIQUE CLINIC ยินดีเป็นพื้นที่ปลอดภัย เพราะที่นี่คือคลินิกเฉพาะทางความงามจุดซ่อนเร้น สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 062-924-4966 หรือ Line: @Genitiqueclinic เรายินดีให้บริการอย่างใกล้ชิดทุกเคสค่ะ