น้องชายไม่แข็งกินอะไรดี

น้องชายไม่แข็งกินอะไรดี การป้องกันด้วยวิธีธรรมชาติทำอย่างไร

คำถามที่ว่า น้องชายไม่แข็งกินอะไรดี ได้กลายเป็นคำค้นหาใน Google ที่มีคนสนใจอย่างมาก ซึ่งในทางการแพทย์ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (ED) เป็นปัญหาที่สร้างความทุกข์ทางอารมณ์ จิตใจ และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตแก่ผู้ชายทั่วโลก ปัจจุบันแม้ว่าจะมีการรักษาทางการแพทย์ให้เลือก แต่ผู้คนจำนวนมากแสวงหาแนวทางการรักษาด้วยวิธีธรรมชาติ หนึ่งในแนวทางที่ได้น่าสนใจก็คือ การเปลี่ยนแปลงการรับประทานอาหาร เนื่องจากอาหารบางชนิดช่วยเสริมสร้างสุขภาพหลอดเลือดและหัวใจ และช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงสมรรถภาพทางเพศ ในบทความนี้เราจะมาสำรวจอาหารต่าง ๆ ที่สามารถช่วยป้องกันและฟื้นฟูจากภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้ ซึ่งไม่เพียงแต่ให้ประโยชน์ทางกายภาพเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมการใช้ชีวิตที่มีสุขภาพดีอีกด้วย จะมีอาหารประเภทใดบ้าง ตามมาดูกันได้เลยค่ะ

สารบัญ

น้องชายไม่แข็ง สาเหตุคืออะไร

ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (นกเขาไม่ขัน) หรือน้องชายไม่แข็ง สาเหตุหลักคือการที่เลือดไปเลี้ยงองคชาตไม่เพียงพอ ทำให้น้องขายไม่แข็งหรือไม่สามารถรักษาการแข็งตัวได้นานพอที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้ ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายปัจจัยแบ่งออกเป็น สาเหตุทางกายภาพ จิตใจ และไลฟ์สไตล์ดังนี้

สาเหตุทางกายภาพ

  • โรคหลอดเลือดหัวใจ : ภาวะต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดแดงแข็ง และไขมันในเลือดสูง อาจส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดไปยังองคชาต
  • โรคเบาหวาน : อาจทำให้เส้นประสาทและหลอดเลือดเสียหาย ส่งผลให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
  • ความผิดปกติทางระบบประสาท : โรคต่าง ๆ เช่น โรคพาร์กินสัน ภาวะหลอดเลือดแข็ง และการบาดเจ็บของไขสันหลัง อาจรบกวนสัญญาณของระบบประสาทที่จำเป็นต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศ
  • ความไม่สมดุลของฮอร์โมน : ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่ต่ำหรือความไม่สมดุลของฮอร์โมนอื่น ๆ อาจส่งผลให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้
  • โรคไตเรื้อรัง : อาจส่งผลต่อการไหลเวียนโลหิต ระดับฮอร์โมน และระดับพลังงานโดยรวม
  • การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก : การผ่าตัดหรือการฉายรังสีเพื่อรักษามะเร็งต่อมลูกหมากอาจสร้างความเสียหายให้กับเส้นประสาทและเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของอวัยวะเพศ
  • ยา : ยาบางชนิด เช่น ยาต้านอาการซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิต และยาแก้แพ้ อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อการแข็งตัวของน้องชายได้

สาเหตุทางจิตวิทยา

  • ความเครียด : ความเครียดในระดับสูงอาจขัดขวางความสามารถของสมองในการส่งสัญญาณที่จำเป็นเพื่อกระตุ้นการแข็งตัวของอวัยวะเพศ
  • ความวิตกกังวล : ความวิตกกังวลเกี่ยวกับสมรรถภาพทางเพศหรือปัญหาอื่น ๆ ในชีวิต อาจนำไปสู่ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้เช่นกัน
  • ภาวะซึมเศร้า : ภาวะซึมเศร้าสามารถส่งผลต่อความต้องการทางเพศและนำไปสู่ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
  • ปัญหาความสัมพันธ์ : ปัญหาที่ความสัมพันธ์กับคู่ครอง สามารถทำให้เกิดภาวะ ED รุนแรงขึ้นได้

สาเหตุที่เกี่ยวข้องกับไลฟ์สไตล์

  • การสูบบุหรี่ : อาจทำให้หลอดเลือดเสียหายและลดการไหลเวียนของเลือดไปยังองคชาต
  • การดื่มแอลกอฮอล์และสารเสพติด : การดื่มแอลกอฮอล์และใช้ยาบางชนิดมากเกินไปอาจทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลง
  • โรคอ้วน : การมีน้ำหนักเกินอาจทำให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้จากกลไกต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดและหัวใจ
  • การขาดการออกกำลังกาย : วิถีชีวิตที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวสามารถส่งผลต่อปัญหาทางหลอดเลือดและหัวใจซึ่งส่งผลต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศได้
  • การรับประทานอาหารที่ไม่ดี : นิสัยการรับประทานอาหารรสหวานจัด มันจัด ของทอด ฯลฯ อาจนำไปสู่โรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเชื่อมโยงกับภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

ปัจจัยอื่น

  • ความชรา : เป็นเหตุผลโดยธรรมชาติที่ส่งผลต่อภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ โดยเฉพาะผู้ชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
  • อาการบาดเจ็บ : อาการบาดเจ็บที่อุ้งเชิงกราน ไขสันหลัง หรือองคชาต อาจส่งผลต่อสมรรถภาพทางเพศได้

น้องชายไม่แข็งกินอะไรดี ที่จะช่วยเสริมสมรรถภาพเพศได้

 

น้องชายไม่แข็งกินอะไรดี

อย่างที่ทราบกันดีว่าภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ น้องชายไม่แข็ง หรือ นกเขาไม่ขัน เกิดจากการไหลเวียนของเลือดที่ไม่สามารถไปเลี้ยงบริเวณองคชาตได้ หรือไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอที่จะทำให้องคชาตแข็งตัวได้นานเพียงพอที่จะมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดจากสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด สำหรับอาหารที่ส่งเสริมระบบการไหลเวียนของเลือดและการทำงานของหัวใจที่ช่วยป้องกันและบรรเทาภาวะ ED ได้มีดังนี้

  • ผักใบเขียวและหัวบีทรูท

ผักโขม ผักคะน้า และผักร็อกเก็ตอุดมไปด้วยไนเตรตซึ่งสามารถช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดได้ เช่นเดียวกับหัวบีทรูท (Garden beet) หรือที่เรารู้จักกันคือ ผักกาดฝรั่ง หรือ ผักกาดแดง ยังมีไนเตรตในระดับสูงจึงช่วยทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดทำงานได้ดีมากขึ้น

  • ดาร์กช็อกโกแลต

ดาร์กช็อกโกแลตมีสารฟีนิลเอทิลเอมีน (Phenylethylamine) ที่ช่วยกระตุ้นการหลั่งสารโดพามีน (Dopamine) ช่วยบำรุงหลอดเลือด และลดความดันโลหิต

  • ถั่วและเมล็ดพืช

วอลนัทและอัลมอนด์เป็นแหล่งที่ดีของไขมันดีและกรดอะมิโน เช่น แอลอาร์จินีน ซึ่งช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ขณะที่เมล็ดฟักทองก็มีสังกะสีซึ่งมีความสำคัญต่อการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) หรือฮอร์โมนเพศชาย

  • ผลไม้

ผลไม้หลายชนิด เช่น ตระกูลเบอร์รี่ (สตรอเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่) อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและสามารถช่วยให้สุขภาพหัวใจดีขึ้นได้ รวมทั้งทับทิมที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงและสามารถช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น นอกจากนี้แตงโมก็มีซิทรูลลีนซึ่งช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตได้เช่นกัน

  • ปลาที่มีไขมัน

ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล และปลาซาร์ดีน อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตและสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด

  • ธัญพืชเต็มเมล็ด

ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง และควินัว (เมล็ดธัญพืชชนิดหนึ่ง หรือพืชตระกูลข้าว) สามารถช่วยปรับปรุงสุขภาพหัวใจและการไหลเวียนโลหิตได้เนื่องจากมีไฟเบอร์สูง

  • กระเทียมสดและหัวหอม

กระเทียมสดมีสารอัลลิซิน (Allicin) ช่วยต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด มีผลทำให้ภายในหลอดเลือดเกล็ดเลือดไม่จับตัวเป็นก้อน ส่วนหัวหอมมีสารต้านอนุมูลอิสระชนิดฟีโนลิก ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่อหลอดเลือดตีบตัน

  • สมุนไพรฤทธิ์ร้อน

ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด กระชาย ยี่หร่า กระเพรา เป็นสมุนไพรฤทธิ์ร้อน ช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตได้เป็นอย่างดี

  • พืชตระกูลถั่ว

ถั่วเป็นแหล่งโปรตีนและไฟเบอร์ที่ดี มีส่วนช่วยเสริมสร้างสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดโดยรวม

  • ไวน์แดง

ไวน์แดงประกอบด้วยสารเรสเวอราทรอล ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตและสุขภาพหัวใจ (เมื่อดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ)

  • หอยนางรม

หอยนางรมมีสังกะสีสูง ทั้งยังมีทอรีน (Taurine) ที่เป็นกรดอะมิโนจำเป็นต่อต่อมหมวกไต ช่วยให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนต่าง ๆ ได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีโอเมก้า 3 ที่มีส่วนสำคัญต่อการไหลเวียนเลือดอีกด้วย

6 วิธีป้องกันน้องชายไม่แข็ง

6 วิธีป้องกันน้องชายไม่แข็ง และการดูแลตนเองแต่เนิ่น ๆ

  1. หมั่นบริหารจัดการความเครียดให้ดี

ความเครียด เป็นต้นเหตุสำคัญของอาการนกเขาไม่ขัน เพราะจิตใจที่วิตกกังวลทำให้ไม่อยากมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ฮอร์โมนที่หลั่งในเวลาเครียดมีส่วนต่ออาการต่อมหมวกไตล้า ภาวะนอนไม่หลับได้ด้วย

  1. หมั่นดูแลหลอดเลือดให้แข็งแรง

นอกจากอาหารที่มีประโยชน์ต่อระบบการไหลเวียนเลือดดังที่กล่าวข้างต้นแล้ว การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ออกกำลังกายเป็นประจำ ก็มีส่วนช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรงขึ้นได้

  1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

การนอนหลับวันละ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน ร่วมกับการมีคุณภาพการนอนที่ดี (หลับลึกไม่หลับ ๆ ตื่น ๆ) ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงโรคความดันโลหิตสูง

  1. หมั่นกระตุ้นอวัยวะเพศเป็นประจำ

การมีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ หรือการช่วยตัวเองเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ทำให้เลือดไปหล่อเลี้ยงองคชาตและต่อมลูกหมากอยู่เสมอ ช่วยส่งเสริมสุขภาพทางเพศที่ดี

  1. บริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้แข็งแรง

กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่แข็งแรง ช่วยทำให้องคชาตแข็งตัวได้ดีขึ้นได้ และลดอาการหลั่งเร็วได้ด้วย สำหรับการบริหารที่ทำได้ง่ายที่สุดก็คือ การเกร็งกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ก้น และท้องน้อย ค้างไว้เป็นเวลา 5 วินาที ทำจนครบ 1 นาที (นับเป็น 1 รอบ) ให้ทำซ้ำเป็นจำนวน 10 รอบ หรือ 10 นาที

  1. หยุดดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่

พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปและการสูบบุหรี่ ส่งผลให้หลอดเลือดอ่อนแอและทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ เมื่อการไหลเวียนของเลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะเพศได้ไม่เต็มที่ จึงนำมาซึ่งภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้ในที่สุด


คงทราบกันไปแล้วว่าน้องชายไม่แข็งควรกินอะไรดี หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่หนุ่ม ๆ ทั้งหลายที่ต้องการเสริมสร้างและป้องกันปัญหาสุขภาพทางเพศให้ดียิ่งขึ้น การรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ และใช้ชีวิตอย่างผ่อนคลาย ไม่ดื่มไม่สูบและไม่เครียดจนเกินไป จะช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศได้ หากใครประสบปัญหาเกี่ยวกับสมรรถภาพทางเพศอย่างต่อเนื่อง ขอแนะนำให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางดูแลด้านความงามจุดซ่อนเร้นและสุขภาพเพศ กับ GENITIQUE CLINIC เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสมต่อไป

บทความน่าสนใจ

Picture of แพทย์หญิง ธนวรรณ ศิริสุข

แพทย์หญิง ธนวรรณ ศิริสุข

สูตินรีแพทย์เฉพาะทาง ดูแลด้านความงามจุดซ่อนเร้นและสุขภาพเพศ
Gynecologist, providing care services in Aesthetic Gynecology and sexology, Global Speaker

บทความใหม่

ค้นหาข้อมูล

บริการของเรา