ปีกน้องสาวยื่น หรือเลเบียยื่น ไม่มั่นใจทำไงดี
คุณผู้หญิงหลายคนอาจเคยรู้สึกไม่มั่นใจเวลาสวมใส่ชุดรัดรูปหรือชุดว่ายน้ำไหม? ปัญหาปีกน้องสาวยื่น (เลเบีย) ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อความมั่นใจ แต่ยังสร้างความไม่สบายในชีวิตประจำวัน และอาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวดระหว่างการเคลื่อนไหวหรือเสียดสีกับเสื้อผ้า สำหรับผู้หญิงที่ต้องการคำตอบและวิธีแก้ไข ทางเลือกในการดูแลตัวเองเพื่อคืนความมั่นใจและความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน
สำหรับสาว ๆ ที่ชอบแต่งเนื้อแต่งตัวโชว์ความเซ็กซี่ คงไม่ดีแน่หากทุกครั้งที่ต้องการโชว์สวย ต้องมาคอยกังวลเกี่ยวกับปัญหาเลเบียยื่น เพราะนอกจากเสียความมั่นใจแล้ว หลายครั้งปีกน้องสาวที่ยื่นออกมาก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บได้เช่นกัน เพราะมักคอยเสียดสีกับเสื้อผ้าจนระคายเคืองและเกิดการอักเสบ รบกวนการดำเนินชีวิต และที่สำคัญปีกน้องสาวที่ยื่นนั้นผู้หญิงหลายคนรู้สึกเขินอายเวลามีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนรักจนส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ ปีกน้องสาวยื่นเกิดจากอะไร แก้ไขได้ด้วยวิธีใด
ปีกน้องสาวมีประโยชน์ต่อสุขภาพทางเพศอะไรบ้าง
ปีกน้องสาว (เลเบีย) เป็นอวัยวะที่มีประโยชน์ต่อความเป็นอยู่ทางเพศของผู้หญิงดังต่อไปนี้
-
ช่วยทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันช่องคลอดและท่อปัสสาวะ
เลเบียช่วยป้องกันสิ่งสกปรกจากภายนอกเข้าสู่ร่างกาย เช่น สิ่งปนเปื้อน แบคทีเรีย หรือสารระคายเคือง ป้องกันการติดเชื้อในช่องคลอด และการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
-
ช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้กับช่องคลอด
เลเบียช่วยรักษาความชุ่มชื้นจากสารคัดหลั่งตามธรรมชาติภายในช่องคลอด ช่วยป้องกันอาการช่องคลอดแห้ง ลดการเสียดสีระหว่างมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันและระหว่างมีเพศสัมพันธ์
-
ช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ
เนื่องจากบริเวณปีกน้องสาวหรือเลเบีย มีปลายประสาทจำนวนมาก ซึ่งปลายประสาทเหล่านี้ทำหน้าที่กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ
ปีกน้องสาวยื่น เกิดจากอะไร
การยื่นออกมาของแคมเล็กหรือปีกน้องสาว หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “เลเบีย” มักเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคตามธรรมชาติของผู้หญิง มากกว่าจะเป็นอาการป่วย โดยส่วนใหญ่มีปัจจัยหลายประการที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าว ได้แก่
-
พันธุกรรม
ผู้หญิงบางคนมีปีกน้องสาวที่เด่นชัดกว่าปกติ อันเนื่องมาจากพันธุกรรม ซึ่งเป็นลักษณะทางกายวิภาคของช่องคลอดที่พบได้ทั่วไปและอาจแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละบุคคล ดังนั้นขนาดของปีกน้องสาวในผู้หญิงแต่ละคนจะมีลักษณะยื่น ยาว หรือใหญ่ไม่เท่ากัน ซึ่งคำจำกัดความของความใหญ่ก็อาจแตกต่างกันเช่นกัน
-
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่น การตั้งครรภ์และวัยหมดประจำเดือน อาจส่งผลต่อขนาดและความยืดหยุ่นของเลเบีย ตัวอย่างเช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจนสามารถเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและการเติบโตของเนื้อเยื่อบริเวณเลเบียได้
-
ความชรา
เมื่ออายุมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงลักษณะความยืดหยุ่นของผิวหนังและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน อาจทำให้เนื้อเยื่อแคมเล็กปรากฏเด่นชัดยิ่งขึ้น
-
การคลอดบุตร
การคลอดบุตรผ่านช่องคลอด (วิธีธรรมชาติ) อาจทำให้เนื้อเยื่อบริเวณปากช่องคลอดขยายออกและทำให้รูปลักษณ์ของเลเบียเปลี่ยนแปลงไป เนื้อเยื่ออาจไม่กลับคืนสู่ขนาดหรือรูปร่างเดิมเสมอไป
-
ผู้ที่เป็นโรคอ้วน
ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป หากมีการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวอย่างกะทันหัน ไขมันใต้ผิวหนังบริเวณน้องสาวจะสลายไป จึงเป็นเหตุผลให้เลเบียมีลักษณะห้อยย้อยอย่างเห็นได้ชัดเจน
-
ปัจจัยอื่น ๆ
กิจกรรมที่สร้างแรงกระแทก แรงกดบริเวณอวัยวะเพศ เช่น การปั่นจักรยาน ขี่ม้า การสวมเสื้อผ้ารัดรูป จะไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงถาวร แต่สามารถทำให้เกิดอาการบวมหรือระคายเคืองชั่วคราวที่ปีกน้องสาวได้
ปีกน้องสาวยื่นก่อปัญหาสุขภาพด้านใดบ้าง
บุคคลที่มีปีกน้องสาวยื่น หรือมีขนาดใหญ่เกินไปอาจทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้
- ความไม่สบายทางร่างกาย : เนื่องมาจากการเสียดสีกับเสื้อผ้าขณะทำกิจกรรม เช่น ระหว่างออกกำลังกาย การสวมใส่เสื้อผ้ารัดรูป หรือมีกิจกรรมทางเพศ ทำให้รู้สึกคัน เจ็บ ระคายเคือง รวมถึงอาจทำให้เกิดการเลียเบียอักเสบหรือติดเชื้อตามมา
- การติดเชื้อซ้ำ ๆ : หากปีกน้องสาวยื่นอาจทำให้เกิดความชื้นสะสม ทำให้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อราหรือแบคทีเรียได้
- ผลกระทบทางจิตใจ : ผู้หญิงบางคนอาจมีความวิตกกังวลหรือไม่พอใจกับรูปลักษณ์ของน้องสาว ซึ่งอาจส่งผลต่อความนับถือตนเองและความมั่นใจในทางเพศ
ปีกน้องสาวยื่นแก้ไขอย่างไรดี
ปีกน้องสาวยื่น ย้วย หรือใหญ่เกินไป จนทำให้เจ็บหรือไม่มั่นใจไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง จำเป็นต้องอาศัยการทำหัตถการเพื่อตกแต่งแก้ไข เราเรียกหัตถการนี้ว่า ศัลยกรรมตกแต่งเลเบีย หรือ Labiaplasty ซึ่งมีเทคนิคผ่าตัดอยู่ 5 รูปแบบดังนี้
- ผ่าตัดตกแต่งเลเบียตามแนวยาว (Trim Labiaplasty) (เป็นเทคนิคที่ได้รับความนิยมมากที่สุด)
- ผ่าตัดแต่งเลเบียแบบตัดลิ่ม (Wedge Labiaplasty)
- ผ่าตัดแต่งเลเบียแบบตัดเยื่อด้านใน (De-Epithelialization Labiaplasty)
- ผ่าตัดแต่งเลเบียแบบตัวดับเบิลยู (Running W-Labiaplasty)
- ผ่าตัดแต่งเลเบียแบบตัวซี (Z-Plasty Labiaplasty)
ปีกน้องสาวยื่น รักษาที่ไหนดี
สาว ๆ ท่านใดที่มีข้อกังวลใจเกี่ยวกับปีกน้องสาวยื่นออกมาทักทาย จนทำให้เสียความมั่นใจ ไม่กล้าที่จะแต่งตัว แถมยังต้องทนกับอาการบาดเจ็บที่เกิดจากการเสียดสีซ้ำแล้วซ้ำเล่า ขอแนะนำโปรแกรม GeniPrincess Labia จาก GENITIQUE CLINIC คลินิกเฉพาะทางความงามจุดซ่อนเร้นและสุขภาพเพศ ซึ่งมีข้อดีคือเป็นการผ่าตัดด้วยเลเซอร์มาตรฐานยุโรป ผ่าได้ตรงเป้าหมาย ขอบแผลคม เลือดออกน้อย เจ็บน้อย พักฟื้นไม่นาน ดูแลหลังผ่าง่าย ใช้เวลาผ่าตัดเพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น ด้วยโปรแกรมนี้จะเป็นการตัดลดขนาดเอาขอบนอกที่ยื่นและเป็นสีคล้ำออกไป เมื่อทำเสร็จเหลือแต่เลเบียสีชมพูสวย ๆ ขาวใส (ทรงบาร์บี้) ที่สำคัญดำเนินงานโดยสูตินรีแพทย์เฉพาะทางดูแลความงามจุดซ่อนเร้นและสุขภาพเพศ ที่มีประสบการณ์กว่า 10 ปี จึงรู้และเข้าใจความรู้สึกของคนไข้เป็นอย่างดี
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดปีกน้องสาว
- แจ้งให้แพทย์ทราบถึงประวัติแพ้ยา โรคประจำตัว และยารักษาโรคที่กำลังใช้อยู่
- คนไข้ควรงดรับประทานยาและวิตามินที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับบริการ
- หลีกเลี่ยงการกำจัดขน 2-3 วันก่อนเข้ารับบริการ
- งดดื่มแอลกอฮอล์ 1 สัปดาห์ก่อนรับบริการ
- งดสูบบุหรี่ 4 สัปดาห์ก่อนเข้ารับบริการ
- ในวันที่เข้ารับบริการ คนไข้ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่หลวมใส่ ถอด ใส่ง่าย
- ก่อนทำหัตถการ คนไข้ควรแจ้งคนใกล้ชิดให้ทราบ เพื่อให้มารับกลับบ้านหลังการผ่าตัดเลเบีย
- คนไข้จะต้องไม่มีประจำเดือนในวันที่ทำหัตถการ
ขั้นตอนการผ่าตัดแก้ไขปีกน้องสาวยื่น
- แพทย์จะทำความสะอาดบริเวณเลเบียและผิวหนังรอบโดยรอบด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
- อาจมีการโกนขนน้องสาวบริเวณหัวหน่าวออกถ้าจำเป็น
- แพทย์ลงมือฉีดยาชาเฉพาะที่รอบ ๆ แคมเล็ก
- รอให้ยาชาออกฤทธิ์ หลังจากนั้นค่อยลงมือผ่าตัดซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
- หลังผ่าตัด แพทย์จะทำการเย็บแผลด้วยไหมละลาย
- คนไข้จะถูกย้ายไปยังห้องพักฟื้นเพื่อสังเกตอาการประมาณ 1-2 ชั่วโมง หากเป็นปกติดีก็สามารถกลับบ้านได้
การดูแลตนเองหลังผ่าตัดปีกน้องสาว
- คนไข้ควรเคลื่อนไหวร่างกายให้น้อย ในช่วง 2 สัปดาห์แรก เพราะเป็นช่วงเวลาที่แผลกำลังสมานตัว
- ต้องดูแลเรื่องความสะอาดอย่างเคร่งครัด
- รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง
- งดทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงมาก ๆ งดการว่ายน้ำ หรือแช่น้ำ
- ควรสวมกางเกงและชุดชั้นในหลวม ๆ ระหว่างการพักฟื้น
- งดการมีเพศสัมพันธ์ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 สัปดาห์
- มาพบแพทย์ตามนัดหมาย เพื่อติดตามความคืบหน้าของการรักษา
- หากพบอาการผิดปกติ ควรรีบเข้ามาพบแพทย์ทันที
ผ่าตัดแก้ไขปีกน้องสาวยื่น เจ็บไหม
การผ่าตัดปีกน้องสาวเพื่อลดขนาดด้วย โปรแกรม GeniPrincess Labia เจ็บน้อย วันรุ่งขึ้นก็หายเจ็บแล้ว
ผ่าตัดแก้ไขปีกน้องสาวยื่น กี่วันหาย
แผลผ่าตัดจะค่อย ๆ หายสนิทโดยใช้เวลาประมาณ 4 สัปดาห์ แต่คนไข้สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติใน 2-3 วันหลังการผ่าตัด
ผ่าตัดปีกน้องสาวยื่นมีแผลเป็นไหม
ปกติแล้วหัตถการใด ๆ ที่ต้องผ่าตัดจะทิ้งแผลเป็นเอาไว้ เช่นเดียวกับโปรแกรม GeniPrincess Labia แต่แผลจะเล็กมากจนสังเกตแทบไม่เห็น
ผ่าตัดแก้ไขปีกน้องสาวยื่น เหมาะกับใครบ้าง
- ผู้ที่มีความกังวลหรือรู้สึกไม่มั่นใจในรูปทรงเลเบีย หรือแคมยื่น
- ผู้ที่อยากเพิ่มประสบการณ์เรื่องบนเตียงให้มีความสุนทรีย์มากยิ่งขึ้น
- ผู้ที่มีปัญหาเลเบียยื่นหรือใหญ่เกินไปจนทำให้รู้สึกเจ็บ เป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตรวมถึงเวลามีเพศสัมพันธ์
- ผู้หญิงที่อายุยังไม่มาก ไม่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์ แต่เลเบียใหญ่มาตั้งแต่กำเนิด (กรรมพันธุ์)
- ผู้ที่มีอาชีพเป็นนางแบบ หรือนักกีฬาที่จำเป็นต้องสวมใส่เสื้อผ้าน้อยชิ้นเป็นประจำ และรู้สึกไม่มั่นใจ
ผ่าตัดแก้ไขปีกน้องสาวยื่น ไม่เหมาะกับใคร
- อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์
- ติดเชื้อที่บริเวณอวัยวะเพศ หรือเป็นโรคเริม
- ป่วยเป็นโรคผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศ เช่น กลาก หรือโรคสะเก็ดเงิน
- มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด เช่น อาการเลือดไหลไม่หยุด หรือผู้ที่กำลังใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด
- ป่วยมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน (ที่ไม่สามารถควบคุมได้) หรือโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- เพิ่งผ่านการผ่าตัดบริเวณน้องสาวและแผลผ่าตัดยังไม่หายดี
- ผู้ที่มีประวัติเกิดแผลคีลอยด์ (แผลเป็นนูน) หรือมีแนวโน้มจะเกิดแผลคีลอยด์ได้ง่าย ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทำหัตถการ
- ผู้ที่มีความคาดหวังที่ไม่สมจริงเกี่ยวกับผลลัพธ์
สรุป
สำหรับสาว ๆ ท่านใดที่กำลังประสบปัญหาปีกน้องสาวยื่นออกมาทักทาย ทำเอาเสียความมั่นใจในการแต่งตัว รวมถึงสร้างความเจ็บปวดทุกครั้งที่ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย อย่าปล่อยให้ปัญหาดังกล่าวมารบกวนความสุขในชีวิต เพราะสามารถแก้ไขได้ GENITIQUE CLINIC ยินดีเป็นพื้นที่ปลอดภัย และให้คำแนะนำกับคนไข้ที่มีปัญหา สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ หมายเลขโทรศัพท์ 062-9244966 หรือ Line: @Genitiqueclinic เรามีทีมแพทย์ผู้ชำนาญการยินดีให้บริการอย่างใกล้ชิดทุกเคสค่ะ