Genitique clinic

หลังกินยาคุมฉุกเฉิน จะรู้ได้ไงว่าไม่ท้อง

คำถามที่ว่า หลังกินยาคุมฉุกเฉิน จะรู้ได้ไงว่าไม่ท้อง คือ คำถามที่ผู้หญิงสงสัยกันมาก เราต่างทราบกันดีว่าการใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน เป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์เร่งด่วน หลังจากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ความล้มเหลวในการคุมกำเนิด รวมถึงผู้หญิงที่ถูกข่มขืนมา แม้ว่ายาคุมกำเนิดฉุกเฉินจะมีประสิทธิภาพสูงเมื่อรับประทานทันที แต่ผู้หญิงหลายคนกลับเกิดความวิตกกังวลภายหลัง โดยสงสัยว่ายาคุมกำเนิดฉุกเฉินนั้นได้ผลจริงหรือไม่ และมีเงื่อนไขการกินอย่างไร GENITIQUE CLINIC คลินิกเฉพาะทางความงามจุดซ่อนเร้น ได้นำเสนอบทความนี้จะมาแนะนำการใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินให้ได้ผล และยาคุมฉุกเฉิน กินอย่างไรให้ปลอดภัย ให้คำแนะนำเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อน และบุคคลที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาคุมฉุกเฉิน เนื้อหาจะเป็นอย่างไรบ้างตามมาดูกันได้ในบทความนี้ค่ะ

ยาคุมฉุกเฉิน คืออะไร

ยาคุมฉุกเฉิน (Emergency contraceptive pill (ECP)) คือวิธีที่ป้องกันการตั้งครรภ์หลังจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน หรือวิธีคุมกำเนิดล้มเหลว เช่น ถุงยางอนามัยแตก หลุด หรือรั่ว การใช้ยาคุมฉุกเฉินไม่ได้มีไว้สำหรับใช้เป็นวิธีคุมกำเนิดแบบปกติ แต่เป็นทางเลือกสำรองในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น โดยยาเหล่านี้ออกฤทธิ์ในการชะลอหรือป้องกันการตกไข่ (การปล่อยไข่จากรังไข่) อย่างไรก็ดีหากเกิดการตกไข่แล้ว ยาเม็ดเหล่านี้อาจไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์

  • ยาเลโวนอร์เจสเทรล (Levonorgestrel)

Levonorgestrel เป็นยาคุมกำเนิดสำหรับผู้ใหญ่ เป็นฮอร์โมนโปรเจสตินสังเคราะห์ ยาชนิดนี้ต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์และเภสัชกรเสมอ จะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อรับประทานภายใน 72 ชั่วโมง (3 วัน) หลังมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน หรือถุงยางแตก ถุงยางรั่ว เป็นต้น แต่สามารถรับประทานได้ไม่เกิน 5 วัน อย่างไรก็ตามยิ่งรับประทานเร็วเท่าไรก็ยิ่งมีประสิทธิภาพป้องกันการตั้งครรภ์ได้มากขึ้นเท่านั้น สำหรับยาคุมฉุกเฉินชนิดนี้ หญิงตั้งครรภ์หรืออยู่ระหว่างให้นมบุตรห้ามใช้โดยเด็ดขาด ตัวยาอาจซึมผ่านนมมารดาและเป็นอันตรายต่อทารก ดังนั้นสตรีที่กำลังให้นมบุตรควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยานี้

  • ยูลิพริสทัล อะซิเตท (Ulipristal acetate)

เป็นยาคุมกำเนิดฉุกเฉินที่ใช้ป้องกันการตั้งครรภ์ ยานี้ออกฤทธิ์ยับยั้งหรือชะลอการตกไข่ ทำให้ไข่ถูกปล่อยออกมาและปฏิสนธิได้ยาก ยูลิพริสทัล อะซิเตทมีประสิทธิผลนานถึง 120 ชั่วโมง (5 วัน) หลังมีเพศสัมพันธ์ และมีประสิทธิผลมากกว่ายาคุมกำเนิดฉุกเฉินทั่วไปที่มีส่วนประกอบของเลโวนอร์เจสเทรล โดยเฉพาะเมื่อใช้ในช่วงหลัง 120 ชั่วโมง เป็นยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์เท่านั้น โดยสามารถรับประทานได้ไม่เกิน 5 วันหลังมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ยานี้มีประสิทธิภาพมากกว่าเลโวนอร์เจสเทรล

หลักการทำงานยาคุมฉุกเฉิน

หลังกินยาคุมฉุกเฉิน จะออกฤทธิ์โดยป้องกันหรือชะลอการตกไข่ ทำให้ไข่มีโอกาสน้อยลงที่จะไปผสมกับน้ำอสุจิและเกิดการปฏิสนธิ ทั้งนี้ยาคุมฉุกเฉินอาจไปเปลี่ยนแปลงมูกปากมดลูก ทำให้อสุจิเข้าถึงไข่ได้ยากขึ้น หรืออาจส่งผลต่อเยื่อบุโพรงมดลูก ทำให้โอกาสในการฝังตัวลดลง ยาคุมฉุกเฉินจะได้ผลดีที่สุดเมื่อใช้ทันทีหลังจากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน แต่จะไม่ได้ผลหากผู้หญิงตั้งครรภ์อยู่แล้ว ยาคุมฉุกเฉินได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้เป็นครั้งคราว และไม่ใช่วิธีคุมกำเนิดแบบปกติ

ยาคุมฉุกเฉินกินตอนไหน

สำหรับวิธีกินยาคุมฉุกเฉินให้มีประสิทธิภาพที่สุดนั้น จะต้องกินเม็ดแรกให้เร็วที่สุดหลังมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน แนะนำให้กินภายใน 72 ชั่วโมง และกินเม็ดที่ 2 หลังจากเม็ดแรกภายใน 12 ชั่วโมง หรืออาจกินทั้ง 2 เม็ดพร้อมกันได้ แต่อาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น อาการคลื่นไส้ง่ายขึ้น สำหรับประเทศไทยยาคุมฉุกเฉิน 1 กล่องจะมี 1 แผง และแต่ละแผงจะมี 2 เม็ด ในแต่ละเม็ดประกอบด้วยตัวยาฮอร์โมนยาเลโวนอร์เจสเทรล (Levonorgestrel) ขนาด 750 กรัม

*ข้อแนะนำเพิ่มเติม : ไม่ควรกินยาคุมฉุกเฉินเกิน 4 เม็ด หรือ 2 กล่องต่อเดือน

Genitique clinic

ยาคุมฉุกเฉินใช้ในสถานการณ์ไหนได้บ้าง

สำหรับยาคุมฉุกเฉิน เป็นวิธีคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับการทำหมัน การใช้ถุงยางอนามัย ยาฉีดคุมกำเนิด ยาฝังคุมกำเนิด ยาเม็ดคุมกำเนิด และห่วงคุมกำเนิด สำหรับยาคุมฉุกเฉินเหมาะสำหรับใช้ในกรณีฉุกเฉินดังต่อไปนี้

  • มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน
  • การป้องกันที่มีโอกาสล้มเหลว เช่น ถุงยางรั่ว ถึงยางแตก
  • ถูกข่มขืน
  • ลืมกินยาคุมกำเนิด
  • เลยกำหนดระยะเวลาฉีดยาคุมกำเนิด
  • ห่วงคุมกำเนินหลุด
  • คำนวณวันงดการมีเพศสัมพันธ์ผิดพลาด
  • ล้มเหลวในการหลั่งข้างนอก

หลังกินยาคุมฉุกเฉิน 7 วัน มีเลือดออกเหมือนประจำเดือน เกิดจากอะไร

การมีเลือดออกหลังจากรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน (ECP) เป็นผลข้างเคียงที่พบบ่อย อย่างไรก็ตามมักเป็นภาวะที่ไม่น่าเป็นห่วง ต่อไปนี้คือสาเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ กรณีมีเลือดออกหลังกินยาคุมฉุกเฉินที่ไม่ใช่ประจำเดือน

  • ความผิดปกติของฮอร์โมน

ECP มีฮอร์โมนในปริมาณสูง เช่น เลโวนอร์เจสเทรล หรือยูลิพริสทัลอะซิเตท ซึ่งอาจรบกวนรอบเดือนของคุณได้ การรบกวนดังกล่าวอาจทำให้เกิดเลือดออก หรือมีเลือดออกกะปริดกะปรอยโดยไม่คาดคิด ซึ่งอาจคล้ายกับการมีประจำเดือน

  • การหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก

ฮอร์โมนในยาคุมฉุกเฉินอาจทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกก่อนเวลาอันควร ส่งผลให้มีเลือดออกซึ่งไม่ใช่ประจำเดือน แต่เป็นการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน

  • เลือดออกจากการหยุดยาคุม

ระดับฮอร์โมนที่ลดลงหลังจากรับประทานยาคุมฉุกเฉิน อาจทำให้เกิดเลือดออกหลังหยุดรับประทานได้ ซึ่งคล้ายกับที่เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ได้รับยาหลอกจากยาคุมกำเนิดแบบปกติ

  • ผลกระทบต่อกระบวนการตกไข่

หากรับประทานยาคุมฉุกเฉินในช่วงเวลาที่มีการตกไข่ ยาอาจขัดขวางกระบวนการตกไข่ได้ การหยุดชะงักดังกล่าวอาจทำให้เกิดเลือดออกกะปริดกะปรอยได้เช่นกัน

  • ความไวต่อฮอร์โมน

ผู้หญิงบางคนอาจมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนอย่างฉับพลันจาก ECP มากขึ้น ส่งผลให้มีเลือดออกผิดปกติ

  • การติดเชื้อหรือการอักเสบ

ภาวะนี้แม้ว่าจะพบได้น้อย แต่หากมีการติดเชื้อหรืออาการอักเสบในระบบสืบพันธุ์ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกิดจากการกินยาคุมฉุกเฉิน อาจทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง จนนำไปสู่การมีเลือดออกได้เช่นกัน

  • ความเครียดและความวิตกกังวล

ความเครียดและความวิตกกังวลที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดการใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน อาจส่งผลต่อรอบเดือนได้เช่นกัน ซึ่งอาจทำให้เกิดเลือดออกโดยไม่คาดคิดได้

หลังกินยาคุมฉุกเฉิน จะรู้ได้ไงว่าไม่ท้อง

การรับประทานยาคุมฉุกเฉินช่วยลดโอกาสตั้งครรภ์ได้ก็จริง แต่ก็ไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้แบบ 100% วิธีสังเกตว่ากินยาคุมฉุกเฉินแล้วไม่ท้อง คือ สังเกตดูว่าประจำเดือนมีการเลื่อนออกไปครบ 28 วัน หรือมีประจำเดือนปกติหลังจากกินยาคุมฉุกเฉินหรือไม่ เพราะถือเป็นสัญญาณบ่งชี้ที่ชัดเจนว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ ทั้งนี้ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีประจำเดือนครั้งถัดไปภายใน 1 สัปดาห์นับจากเวลาที่คาดไว้ หากประจำเดือนของคุณมาช้ากว่ากำหนดมากกว่า 1 สัปดาห์ ขอแนะนำให้ตรวจการตั้งครรภ์เพื่อความแน่ใจ

Genitique clinic

ยาคุมฉุกเฉิน มีผลข้างเคียงหรือไม่

การกินยาคุมฉุกเฉินมีผลข้างเคียงทั้งระยะสั้นและระยะยาว สำหรับผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นทันทีหลังรับประทานก็คืออาการคลื่นไส้ บางคนอาจมีเลือดออกจากช่องคลอดแต่มีไม่เยอะเท่ากับประจำเดือน สำหรับผลข้างเคียงในระยะยาวก็คือผลเสียที่มีต่อรังไข่ เยื่อบุโพรงมดลูก รวมถึงมีโอกาสท้องนอกมดลูกได้ด้วย

ใครไม่ควรกินยาคุมฉุกเฉิน

  • ผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป และมีพฤติกรรมสูบบุหรี่จัด
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ภาวะหลอดเลือดและไตทำงานผิดปกติ
  • ผู้หญิงที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม และมะเร็งอวัยวะภายใน
  • ผู้ป่วยโรคตับแข็ง
  • ผู้ป่วยโรคลมชัก
  • ผู้ป่วยไมเกรนชนิดที่มีอาการเตือน
  • ผู้มีอาการลิ่มเลือดอุดตัน

สรุป

คงได้ทราบคำตอบกันไปแล้ว หลังกินยาคุมฉุกเฉินจะรู้ได้ไงว่าไม่ท้อง เชื่อว่าเพื่อน ๆ สามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตามหากต้องการคุมกำเนิดอย่างจริงจัง ยาคุมฉุกเฉินไม่ใช่ทางเลือกที่ตอบโจทย์ เพราะเป็นวิธีที่ไม่ได้ผล 100% ทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ การใช้ยาคุมฉุกเฉินจะเหมาะกับกรณีป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ตามชื่อเท่านั้น เช่น มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน หรือถุงยางหลุด ถุงยางรั่วหรือแตก หรือกรณีโดนข่มขืน เป็นต้น หากคุณต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ยาคุมฉุกเฉิน หรือคำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจุดซ่อนเร้น คุณสามารถติดต่อ GENITIQUE CLINIC คลินิกเฉพาะทางจุดซ่อนเร้น ที่มีทีมแพทย์เฉพาะทางพร้อมให้บริการ

บทความน่าสนใจ

Picture of แพทย์หญิง ธนวรรณ ศิริสุข

แพทย์หญิง ธนวรรณ ศิริสุข

Global Speaker and Trainer in Aesthetic Gynecology แพทย์ผู้สอนงานประชุมวิชาการ ทั้งในและต่างประเทศทั่วโลก และ American Board of Cosmetic Gynecology, U.S.A. (คนแรกของไทย)

บทความใหม่

ค้นหาข้อมูล

บริการของเรา