เป็นตุ่มที่อวัยวะเพศหญิง คล้ายสิว

เป็นตุ่มที่อวัยวะเพศหญิง คล้ายสิว อันตรายไหม วิธีป้องกันและรักษา

ในด้านสุขภาพทางเพศของผู้หญิง การทำความเข้าใจและตระหนักถึงความผิดปกติของน้องสาวเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง อาการเป็นตุ่มที่อวัยวะเพศหญิง คล้ายสิว ในการตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ และการรักษาที่เหมาะสม ล้วนช่วยแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที ข้อกังวลประการหนึ่งที่ผู้หญิงหลายคนไม่กล้าที่จะไปพบแพทย์ก็คือ การมีก้อน หรือเป็นตุ่มที่อวัยวะเพศ คล้ายสิว ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น การติดเชื้อ โรคผิวหนัง หรืออาการแพ้สัมผัส แม้ว่าตุ่มเหล่านี้ส่วนใหญ่มักไม่ร้ายแรง แต่บางครั้งอาจบ่งบอกถึงปัญหาร้ายแรงที่ซ่อนอยู่ เช่น การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ หรือแม้แต่มะเร็ง ดังนั้น จึงจำเป็นที่ผู้หญิงจะต้องใส่ใจกับการเปลี่ยนแปลงหรือความผิดปกติใด ๆ ที่เกิดขึ้นบริเวณจุดซ่อนเร้นของตนเอง บทความนี้จะมาไขคำตอบเกี่ยวกับการมีตุ่มคล้ายสิว บริเวณอวัยวะเพศหญิง เกิดจากอะไร อันตรายแค่ไหน เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง พฤติกรรมแบบไหนเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการดังกล่าว และวิธีรักษามีอะไรบ้าง มาหาคำตอบกันได้ในบทความนี้ค่ะ

สารบัญ

เป็นตุ่มที่อวัยวะเพศหญิง คล้ายสิว เกิดจากอะไร

ในทางการแพทย์มีตุ่มที่อวัยวะเพศหญิง คล้ายสิว ที่ขึ้นบริเวณ เลเบีย หรือหัวหน่าว เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ปัจจัยบางอย่างควรต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสม ขณะที่ปัจจัยบางประการสามารถหายได้เอง คนไข้แค่เพียงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงบางอย่างเท่านั้น สำหรับอาการตุ่มขึ้นที่อวัยวะเพศหญิง พอสรุปต้นเหตุของปัญหาและความเสี่ยงเกิดโรคต่าง ๆ ได้ดังนี้

  • รูขุมขนอักเสบ เนื่องจากการกำจัดขนอวัยวะเพศ ไม่ว่าจะด้วยวิธีการถอน โกน หรือแว็กซ์ รวมทั้งการอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา และการอักเสบที่เกิดจากต่อมไขมัน
  • การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน ทำให้เกิดเป็นตุ่มสิวบริเวณอวัยวะเพศ คล้ายสิว
  • อาการระคายเคืองผิว การแพ้สารเคมีในสบู่ ผงซักฟอก สารหล่อลื่น หรือถุงยางอนามัย รวมถึงการเสียดสีระหว่างกิจกรรมทางเพศ การสวมเสื้อผ้าคับ หรือการเกาอย่างรุนแรง อาจทำให้เกิดอาการพุพอง เป็นผื่นแดง หรือตุ่มน้ำใส บริเวณอวัยวะเพศได้
  • ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ หรือภูมิคุ้มกันทำร้ายตนเอง กล่าวคือ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายโจมตีเนื้อเยื่อที่มีสุขภาพดี รวมถึงบริเวณอวัยวะเพศด้วย
  • โรคฝีต่อมบาร์โธลิน หรือ ต่อมบาร์โธลินอักเสบ (Bartholin’s Cyst) ทำให้เกิดการบวมขึ้น จนกลายเป็นถุงน้ำโผล่ออกมาที่ปากช่องคลอด
  • สิว ที่เกิดจากแบคทีเรียก่อตัวขึ้นจากความอับชื้น ทำให้เป็นสิวได้
  • ซีสต์ไขมัน มีลักษณะเป็นก้อนนิ่ม หากบีบจะมีไขมันไหลออกมา และมีกลิ่นเหม็น
  • หิด ติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์ มีลักษณะเป็นตุ่มหนองและตุ่มใส มีอาการคันบริเวณช่องคลอดมาก
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น
    • ไวรัสเริม : เริมที่อวัยวะเพศหญิง เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อไวรัส Herpes simplex virus (HSV) อาจทำให้เกิดแผลพุพอง และเจ็บปวดบริเวณอวัยวะเพศ
    • หูดที่อวัยวะเพศ : เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Human papilloma virus (HPV) พบได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย มีลักษณะเป็นตุ่มหรือแผ่นนูนยื่นออกมาจากน้องสาว มีสีเหมือนสีผิว อาจมีอาการปวดหรือคันร่วมด้วย
    • โรคซิฟิลิส (Syphilis) : ซิฟิลิสเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จากการติดเชื้อแบคทีเรีย ลักษณะของแผลจะเป็นริมแข็ง ๆ ในระยะแรก และจะมีลักษณะเป็นผื่นบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า รวมถึงแผลนูนบริเวณน้องสาวร่วมด้วย ในระยะที่สอง หากคนไข้ไม่ได้รับการรักษาจะพัฒนาเข้าสู่ระยะที่สาม ซึ่งอาจเกิดการติดเชื้อที่ระบบประสาท หัวใจ ตา สมอง เส้นเลือด ตับ หรือกระดูก จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และไม่ให้แพร่เชื้อสู่คู่นอนด้วย

 

ความแตกต่างระหว่างสิว และตุ่มที่อวัยวะเพศหญิง

ความแตกต่างระหว่างสิว และตุ่มที่อวัยวะเพศหญิง

เป็นตุ่มที่อวัยวะเพศหญิงคล้ายสิว ที่อวัยวะเพศเป็นภาวะที่มีสาเหตุ ลักษณะ และการรักษาที่แตกต่างกัน ต่อไปนี้เป็นรายละเอียดความแตกต่างที่สำคัญระหว่างกันสิว และตุ่มที่ขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ

  • สิว

สาเหตุ : สิวมีสาเหตุหลักมาจากการผลิตน้ำมัน (ซีบัม) มากเกินไป โดยต่อมไขมันในผิวหนัง ทำให้เกิดการอุดตันในรูขุมขน การอุดตันนี้ควบคู่ไปกับการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ส่งผลให้เกิดการอักเสบ รอยแดง และการเกิดสิว

ตำแหน่งที่ขึ้น : สิวมักเกิดขึ้นที่ใบหน้า หน้าอก หลัง และไหล่ แต่ก็อาจเกิดขึ้นที่บริเวณอวัยวะเพศได้ในบางกรณี

ลักษณะ : รอยโรคจากสิวมักประกอบด้วยสิวหัวดำ (ตุ่มสีแดงเล็ก ๆ) สิวหัวขาว (ตุ่มหนอง) สิวอักเสบไม่มีหัว (ขนาดใหญ่แข็งและเจ็บ)

การรักษา : การรักษาสิวอาจรวมถึงการใช้ครีมหรือเจลทาเฉพาะที่ เช่น เบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ หรือ กรดซาลิไซลิก รวมถึงใช้ยาตามใบสั่งแพทย์ เช่น ยาปฏิชีวนะทั้งชนิดยาทาและยากิน เรตินอยด์ หรือไอโซเตรติโนอิน (แอคคิวเทน) ในบางกรณีอาจแนะนำให้ทำหัตถการความงามทางผิวหนัง เช่นการรักษาด้วยเลเซอร์ เป็นต้น

  • ตุ่มที่อวัยวะเพศ

สาเหตุ : ผื่นที่อวัยวะเพศอาจมีสาเหตุหลายประการ รวมถึงอาการแพ้ การติดเชื้อ (เช่น การติดเชื้อรา แบคทีเรีย หรือไวรัส) ผิวหนังอักเสบจากการสัมผัส (จากสารระคายเคืองหรือสารก่อภูมิแพ้) การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STI) หรือสภาพผิว เช่น กลากหรือโรคสะเก็ดเงิน

ตำแหน่งที่ขึ้น : ตุ่มที่อวัยวะเพศส่งผลกระทบเฉพาะบริเวณอวัยวะเพศเท่านั้น อาทิ ช่องคลอด องคชาต ถุงอัณฑะ และผิวหนังโดยรอบ

ลักษณะ : ผื่นที่อวัยวะเพศอาจเกิดเป็นผื่นแดง คัน อักเสบ ตุ่มพอง ตุ่มน้ำใส เป็นแผล หรือทุกอย่างรวมกันขึ้นอยู่กับสาเหตุที่แท้จริง

การรักษา : มีตุ่มขึ้นที่อวัยเพศหญิง คล้ายสิว วิธีรักษาตุ่มที่อวัยวะเพศขึ้นอยู่กับสาเหตุที่แท้จริง อาจเกี่ยวข้องกับการใช้ยาเฉพาะที่ เช่น ครีมต้านเชื้อรา คอร์ติโคสเตียรอยด์ หรือยาปฏิชีวนะสำหรับการติดเชื้อ สำหรับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อาจมีการสั่งยาต้านไวรัสหรือยาต้านแบคทีเรียโดยเฉพาะ การหลีกเลี่ยงสารระคายเคืองหรือสารก่อภูมิแพ้และการปฏิบัติตามสุขอนามัยที่ดี สามารถช่วยจัดการกับผื่นที่อวัยวะเพศได้เช่นกัน

ความแตกต่างระหว่างสิว และตุ่มที่อวัยวะเพศหญิง

ใครมีความเสี่ยงเป็นตุ่มที่อวัยวะเพศหญิง

  1. ผู้ที่มีสุขอนามัยที่ไม่ดี ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศไม่เพียงพอ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคผิวหนัง เช่น โรคกลาก โรคสะเก็ดเงิน ไลเคนสเคลโรซัส ฯลฯ
  2. ผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย หรือผู้ที่ใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลจุดซ่อนเร้นที่มีฤทธิ์รุนแรง
  3. ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน หรือมีคู่นอนหลายคน
  4. พฤติกรรมชอบใช้เซ็กส์ทอย หรือใส่วัตถุแปลกปลอมเข้าไปในช่องคลอดโดยไม่ได้ทำความสะอาด
  5. การสวมกางเกงชั้นในที่รัดแน่น ทำให้เกิดการเสียดสีกับอวัยวะเพศ
  6. ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงอาจทำให้ไวต่ออาการระคายเคืองและผื่นขึ้นได้ง่าย
  7. ผู้ป่วย เช่น โรคเบาหวานหรือความผิดปกติของภูมิต้านทานตนเอง สามารถทำลายระบบภูมิคุ้มกันได้ ทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อและการระคายเคืองต่อผิวหนังมากขึ้น

 

เป็นตุ่มที่อวัยวะเพศหญิง คล้ายสิว แบบไหนที่ควรไปพบแพทย์

เป็นตุ่มที่อวัยวะเพศหญิง คล้ายสิว แบบไหนที่ควรไปพบแพทย์

อาการเป็นตุ่มที่อวัยวะเพศหญิง คล้ายสิว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการปวด คัน แสบร้อน หรือมีของเหลวไหลออกมาร่วมด้วย ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาโดยสูตินรีแพทย์เฉพาะทาง ดูแลด้านความงามจุดซ่อนเร้นและสุขภาพเพศโดยเร่งด่วน ตัวอย่างเช่น

  • ตุ่มที่มีลักษณะเป็นแผลพุพอง อาจเป็นอาการของเริมที่อวัยวะเพศ ซึ่งจำเป็นต้องให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยเพื่อรักษาอย่างถูกวิธี
  • ตุ่มลักษณะก้อนแข็งขึ้นเป็นกระจุก ๆ บริเวณอวัยวะเพศ อาจเกิดจากเชื้อไวรัส Human papillomavirus (HPV) หรือหูดที่อวัยวะเพศ จำเป็นต้องใช้ยาเฉพาะที่
  • ผื่นแดงหรือเป็นริมแข็ง ๆ อาจเป็นอาการระยะแรกของซิฟิลิส เพื่อป้องกันการลุกลามไปสู่ระยะที่ร้ายแรงขึ้น จำเป็นต้องให้แพทย์เฉพาะทางตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด
  • ตุ่มหรือผื่นแดงลักษณะเป็นวงกลม อาจบอกถึงการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราบริเวณอวัยวะเพศ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน เช่น ช่องคลอดอักเสบ
  • ตุ่มหรือผื่นแดงลักษณะกระจายไปทั่วไม่จำกัดรูปแบบ มีอาการระคายเคืองหรือคันร่วมด้วย เป็นลักษณะอาการแพ้สัมผัส กับสารเคมีในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ เช่น สบู่ ครีมบำรุงที่ใช้ทาบริเวณจุดซ่อนเร้น น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาซักผ้า ฯลฯ ส่งผลให้ผิวหนังเกิดการอักเสบ หากมีอาการรุนแรงหรือเป็นผื่นแพ้เป็นเวลานานควรรีบไปพบแพทย์
  • ตุ่มหนองหรือตุ่มใส มีอาการคันมาก อาจเกิดจากการติดเชื้อปรสิต เช่น ไรหิดหรือเหา บริเวณอวัยวะเพศ
  • ตุ่มพุพองมีของเหลวภายใน อาจบ่งบอกถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคหนองใน หนองในเทียม หรือเชื้อ Trichomoniasis จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีโดยสูตินรีแพทย์ฯ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนและลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น

แนวทางป้องกันการเป็นตุ่มที่อวัยวะเพศหญิง คล้ายสิว มีอะไรบ้าง

อาการเป็นตุ่มคล้ายสิวที่อวัยวะเพศหญิง เกิดขึ้นได้จากหลายเหตุปัจจัย การป้องกันเป็นวิธีที่ดีที่สุดเพื่อสุขภาพทางเพศที่ดีทั้งกับตนเองและคู่รัก ไม่ต้องเสี่ยงกับโรคร้าย หรือปัญหาสุขภาพทางเพศคอยรบกวนการดำเนินชีวิต สำหรับแนวทางป้องกันด้วยตนเองง่าย ๆ มีดังนี้

  • ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
  • ไม่แกะ เกา บีบ เค้น หรือสัมผัสตุ่มที่อวัยวะเพศ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
  • ดูแลความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศอย่างถูกสุขอนามัย
  • เลือกใส่กางเกงชั้นในที่ระบายอากาศได้ดี หลีกเลี่ยงกางเกงชั้นในที่รัดรูปมากเกินไป
  • ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อไม่ให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
  • หมั่นสังเกตความผิดปกติบริเวณอวัยวะเพศอยู่เสมอ ว่ามีเม็ดตุ่ม แผลพุพอง หรืออาการผิดปกติใด ๆ หรือไม่
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี รวมไปถึงตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

เป็นตุ่มสีขาวที่อวัยวะเพศหญิง คล้ายสิว รักษาอย่างไร

ผู้หญิงที่มีผื่นขึ้นที่อวัยวะเพศ หรือเป็นตุ่มที่อวัยวะเพศหญิง คล้ายสิว จำเป็นต้องขอคำแนะนำจากสูตินรีแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรับการวินิจฉัยและมีวิธีการรักษาที่เหมาะสม ผื่นบริเวณอวัยวะเพศอาจเกิดจากปัจจัยหลายประการ รวมถึงการติดเชื้อ (เช่น การติดเชื้อรา การติดเชื้อแบคทีเรีย หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์) ปฏิกิริยาการแพ้ ผิวหนังอักเสบจากการสัมผัส หรือสภาพผิวอื่น ๆ สำหรับตัวเลือกการรักษาอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสาเหตุของผื่น

ยาต้านเชื้อรา : หากผื่นเกิดจากการติดเชื้อยีสต์ อาจใช้ยาครีมต้านเชื้อราหรือยารับประทาน

ยาปฏิชีวนะ : หากผื่นเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย อาจจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาภาวะติดเชื้อ

ยาต้านไวรัส : ในกรณีของการติดเชื้อไวรัส เช่น เริม อาจมีการสั่งยาต้านไวรัส เพื่อจัดการกับอาการและลดความถี่ของการระบาด

ครีมคอร์ติโคสเตียรอยด์ : สำหรับผื่นที่เกิดจากการอักเสบหรืออาการแพ้ ครีมคอร์ติโคสเตียรอยด์อาจช่วยลดอาการคันและการอักเสบได้

การหลีกเลี่ยงสารระคายเคือง : หากผื่นเกิดจากผิวหนังอักเสบจากการสัมผัสหรือการระคายเคืองจากผลิตภัณฑ์บางชนิด (เช่น สบู่ ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม ครีมบำรุงผิวบริเวณจุดซ่อนเร้น หรือสารเคลือบถุงยางอนามัย) การหลีกเลี่ยงสารระคายเคืองเหล่านี้อาจช่วยให้อาการดีขึ้นได้

รักษาความสะอาด และแห้งบริเวณอวัยวะเพศ : สุขอนามัยที่เหมาะสมสามารถช่วยป้องกันการระคายเคืองและการติดเชื้อเพิ่มเติมได้ การหลีกเลี่ยงเสื้อผ้ารัดรูปและการสวมชุดชั้นในผ้าฝ้าย สามารถช่วยให้บริเวณอวัยวะเพศให้แห้ง และลดการระคายเคืองได้

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับตุ่มที่อวัยวะเพศ

ตุ่มที่อวัยวะเพศเกิดจากอะไร?

ตุ่มที่อวัยวะเพศอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อไวรัส เช่น หูดหงอนไก่ การติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น ซิฟิลิส หรือการระคายเคืองจากสารเคมีหรือการโกนขน

ตุ่มที่อวัยวะเพศมีอาการอย่างไร?

อาการตุ่มที่อวัยวะเพศอาจแตกต่างกันไป เช่น ตุ่มใส ตุ่มแดง ตุ่มมีหนอง หรือเป็นก้อนนูน อาจมีอาการคัน เจ็บ หรือไม่มีอาการร่วมเลย ขึ้นอยู่กับสาเหตุของตุ่ม

ตุ่มที่อวัยวะเพศอันตรายหรือไม่?

ตุ่มที่อวัยวะเพศอาจไม่เป็นอันตรายหากเกิดจากสาเหตุที่ไม่รุนแรง เช่น ขนคุด แต่ถ้าเกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เริม หรือหูดหงอนไก่ ควรรีบปรึกษาแพทย์

ควรทำอย่างไรหากพบตุ่มที่อวัยวะเพศ?

หากพบตุ่มที่อวัยวะเพศ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือเกา และปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม โดยเฉพาะหากตุ่มไม่หายภายในไม่กี่วันหรือมีอาการอื่นร่วมด้วย

การรักษาตุ่มที่อวัยวะเพศทำได้อย่างไร?

การรักษาตุ่มที่อวัยวะเพศขึ้นอยู่กับสาเหตุ เช่น การใช้ยาทา ยาต้านไวรัส หรือยาปฏิชีวนะ แพทย์อาจแนะนำการดูแลเฉพาะจุดร่วมด้วยเพื่อป้องกันการลุกลามหรือการติดเชื้อซ้ำ

สรุป

หากท่านใดกำลังประสบปัญหาเป็นตุ่มที่อวัยวะเพศ คล้ายสิว ไม่แน่ใจว่าเกิดจากสาเหตุใด เบื้องต้นควรล้างมือให้สะอาดก่อน และหลังการสัมผัสทุกครั้ง หลีกเลี่ยงการแคะ แกะ เกา หรือบีบเค้น เพื่อป้องกันการอักเสบและลุกลาม และหากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน ควรรีบไปพบสูตินรีแพทย์เฉพาะทางด้านการดูแลจุดซ่อนเร้นผู้หญิง เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและมีวิธีการรักษาอย่างเหมาะสม เนื่องจากการวินิจฉัยและการรักษาด้วยตนเอง อาจทำให้อาการแย่ลงหรือนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนได้

บทความน่าสนใจ

Picture of แพทย์หญิง ธนวรรณ ศิริสุข

แพทย์หญิง ธนวรรณ ศิริสุข

Global Speaker and Trainer in Aesthetic Gynecology แพทย์ผู้สอนงานประชุมวิชาการ ทั้งในและต่างประเทศทั่วโลก และ American Board of Cosmetic Gynecology, U.S.A. (คนแรกของไทย)

บทความใหม่

ค้นหาข้อมูล

บริการของเรา